เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [2. ยุคนัทธวรรค] 5. วิราคกถา
วิมุตติคือความน้อมใจเชื่อ ชื่อว่าสัทธินทรีย์ ฯลฯ วิมุตติคือความเห็น ชื่อว่า
ปัญญินทรีย์
วิมุตติที่ชื่อว่าอินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ วิมุตติที่ชื่อว่าพละ เพราะมี
สภาวะไม่หวั่นไหว วิมุตติที่ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะนำออก วิมุตติที่ชื่อว่า
มรรค เพราะมีสภาวะเป็นเหตุ วิมุตติที่ชื่อว่าสติปัฏฐาน เพราะมีสภาวะตั้งมั่น
วิมุตติที่ชื่อว่าสัมมัปปธาน เพราะมีสภาวะเริ่มตั้งไว้ วิมุตติที่ชื่อว่าอิทธิบาท
เพราะมีสภาวะให้สำเร็จ วิมุตติที่ชื่อว่าสัจจะ เพราะมีสภาวะเป็นของแท้ วิมุตติที่
ชื่อว่าสมถะ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน วิมุตติที่ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะมีสภาวะ
พิจารณาเห็น วิมุตติที่ชื่อว่าสมถะและวิปัสสนา เพราะมีสภาวะมีรสเป็นอย่าง
เดียวกัน วิมุตติที่ชื่อว่าธรรมที่เป็นคู่กัน เพราะมีสภาวะไม่ล่วงเลยกัน
วิมุตติที่ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะมีสภาวะสำรวม วิมุตติที่ชื่อว่าจิตตวิสุทธิ
เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน วิมุตติที่ชื่อว่าทิฏฐิวิสุทธิ เพราะมีสภาวะเห็น วิมุตติที่
ชื่อว่าวิโมกข์ เพราะมีสภาวะพ้นวิเศษ วิมุตติที่ชื่อว่าวิชชา เพราะมีสภาวะรู้แจ้ง
วิมุตติที่ชื่อว่าวิมุตติ เพราะมีสภาวะสละ วิมุตติที่ชื่อว่าอนุปปาทญาณ เพราะมี
สภาวะสงบระงับ วิมุตติที่ชื่อว่าฉันทะ เพราะมีสภาวะเป็นมูล วิมุตติที่ชื่อว่า
มนสิการ เพราะมีสภาวะเป็นสมุฏฐาน วิมุตติที่ชื่อว่าผัสสะ เพราะมีสภาวะเป็น
ที่รวม วิมุตติที่ชื่อว่าเวทนา เพราะมีสภาวะเป็นที่ประชุม วิมุตติที่ชื่อว่าสมาธิ
เพราะมีสภาวะเป็นประธาน วิมุตติที่ชื่อว่าสติ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ วิมุตติที่ชื่อ
ว่าปัญญา เพราะมีสภาวะเป็นธรรมที่ยิ่งกว่าธรรมนั้น วิมุตติที่ชื่อว่าวิมุตติ เพราะ
มีสภาวะเป็นแก่นสาร วิมุตติที่ชื่อว่าธรรมที่หยั่งลงสู่อมตะคือนิพพาน เพราะ
มีสภาวะเป็นที่สุด
วิมุตติชื่อว่าผลอย่างนี้ วิราคะชื่อว่ามรรค วิมุตติชื่อว่าผล ด้วยประการฉะนี้

วิราคกถา จบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :481 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [2. ยุคนัทธวรรค] 6. ปฏิสัมภิทากถา 1. ธัมมจักกัปปวัตตนวาร
6. ปฏิสัมภิทากถา
ว่าด้วยปฏิสัมภิทา
1. ธัมมจักกัปปวัตตนวาร1
วาระว่าด้วยการประกาศธรรมจักร
[30] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุง
พาราณสี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสแก่ภิกษุปัญจวัคคีย์ว่า
ภิกษุทั้งหลาย ที่สุด 2 ประการนี้ บรรพชิตไม่ควรเสพ
ที่สุด 2 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. กามสุขัลลิกานุโยค (การหมกมุ่นอยู่ด้วยกามสุขในกามทั้งหลาย)
เป็นธรรมอันเลวทราม เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่
ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
2. อัตตกิลมถานุโยค (การประกอบความลำบากเดือดร้อนแก่ตน) เป็น
ทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
ภิกษุทั้งหลาย มัชฌิมาปฏิปทาไม่เอียงเข้าใกล้ที่สุด 2 ประการนี้นั้นตถาคต
ตรัสรู้แล้ว ทำให้เห็นประจักษ์ ทำให้รู้ชัด ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง
เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
มัชฌิมาปฏิปทาที่ตถาคตตรัสรู้แล้ว ทำให้เห็นประจักษ์ ทำให้รู้ชัด ย่อม
เป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพานนั้น เป็น
อย่างไร

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบ วิ.ม. (แปล) 4/13-17/20-25 สํ.ม. (แปล) 19/1081/367-370

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :482 }